|
การเพาะเห็ด
พื้นที่ตำบลเวียงกาหลงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปลูกข้าวและการเกษตรแบบผสมผสานและ อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง (จะเริ่มทำการ เพาะเห็ด ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ – ตุลาคม) เห็ดแชมปิยอง (จะเริ่มทำการเพาะเห็ดประมาณเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์ เพราะเห็ดชนิดนี้ชอบอากาศเย็นในการออกผลผลิต) ส่วนเห็ดที่สามารถทำการเพาะได้ตลอดปี คือ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม แต่ก็มีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อเหมือนกันแต่มีไม่มาก สำหรับตลาดที่รับซื้อที่สำคัญคือ โครงการหลวงดอยคำ อำเภอฝาง บริษัทส่งออกเห็ดแปรรูป นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนโรงงาน UFC จังหวัดลำปาง และส่งขายปลีกให้แก่แม่ค้าภายในอำเภอเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ในปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดได้มีการปรับเปลี่ยนและมีแนวคิดในการนำซังข้าวโพดมาใช้ในการเพาะเห็ดแทนฟางข้าว เนื่องจากฟางข้าว มีราคาที่สูงขึ้นเพราะชาวนาเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีในการเกี่ยวข้าวจึงทำให้ฟางข้าวขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ในพื้นที่ตำบลเวียงกาหลง มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเพาะเห็ดในหลายชุมชนหมู่บ้านซึ่งจะมีการประกอบอาชีพเพาะเห็ดเป็นหลัก ในหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ หมู่ 13 หมู่บ้านทุ่งรวงทอง หมู่ 11 หมู่บ้านแม่ห่างใต้ หมู่ 6 หมู่บ้านแม่ห่างเหนือ หมู่ 10 หมู่บ้านร่องนอด หมู่ 9 และหมู่บ้านป่าจั่น หมู่ 7
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ เกษตรกรผู้เพาะเห็ด บ้านป่าจั่น หมู่ 7 เบอร์โทรศัพท์ 088 - 1382686 เกษตรกรผู้เพาะเห็ด บ้านแม่ห่างเหนือ หมู่ 10 เบอร์โทรศัพท์ 087 - 5752507 เกษตรกรผู้เพาะเห็ด บ้านทุ่งรวงทอง หมู่ 11 เบอร์โทรศัพท์ 084 - 8853544 08 มิถุนายน 2565
|