|
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
“เวียงกาหลงเมืองวัฒนธรรม ก้าวล้ำด้านเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตด้วยการศึกษา ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม”
นโยบายของเทศบาลตำบลเวียงกาหลง
“ตำบล เวียงกาหลงจะพัฒนา โดยการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ความเป็นมาของชาติพันธ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ มีความอุดมสมบูรณ์ พัฒนาศักยภาพวิถีชีวิตของคนในตำบล ให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและมีความมั่นคงในอาชีพ มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมีความสุขตามอัตภาพ ของแต่ละคนเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาลภายในปี 2552”
นโยบายระยะ 4 ปี
“ตำบล เวียงกาหลงจะพัฒนา โดยการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ความเป็นมาของชาติพันธ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ มีความอุดมสมบูรณ์ พัฒนาศักยภาพวิถีชีวิตของคนในตำบล ให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและมีความมั่นคงในอาชีพ มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมีความสุขตามอัตภาพ ของแต่ละคนเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาลภายในปี 2552”
นโยบายระยะ 4 ปี
1. ด้านการเมืองการปกครอง
1.1 ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองในระบอบวิถีชีวิตประชาธิปไตย
ให้กับผู้นำทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
1.2 ส่งเสริมประชาชนให้มีความเข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในการปกครองและพัฒนาท้องถิ่น
2. ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกระบบให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นและ ภูมิปัญญา ชาวบ้านให้คงอยู่เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
2.3 ส่งเสริม บำรุงรักษาพระพุทธศาสนาทั้งด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุ
2.4 ส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬาของนักเรียน เยาวชน ประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
3. ด้านสังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3.1 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องรวม ทั้งการป้องกันและขจัดโรคติดต่อ พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
3.2 สนับสนุนสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้ติดเชื้อ
3.3 จัดตั้งศูนย์บริการประชาชน เพื่อป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยธรรมชาติ
3.4 จัดหน่วยบริการประชาชนเคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อหน่วยงานของรัฐ
3.5 ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของคนในชุมชน
3.6 สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง
4. ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณจัดสรรให้กลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน คือ ข้าว พืชผัก ขิง ฯลฯ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับตลาดและลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ลดสารเคมีตกค้างในผลผลิตโดยใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อให้ได้ราคาสูงและเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ผลิต
4.3 พัฒนาแหล่งน้ำและถนนเพื่อการเกษตรให้ใช้ได้ดีทุกฤดูกาล
4.4 จัดหาแหล่งน้ำสะอาด เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคให้หมู่บ้านที่ขาดแคลน
4.5 จัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์กลางการตลาดเพื่อแสดงสินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆ
1.1 ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองในระบอบวิถีชีวิตประชาธิปไตย
ให้กับผู้นำทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
1.2 ส่งเสริมประชาชนให้มีความเข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในการปกครองและพัฒนาท้องถิ่น
2. ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกระบบให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นและ ภูมิปัญญา ชาวบ้านให้คงอยู่เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
2.3 ส่งเสริม บำรุงรักษาพระพุทธศาสนาทั้งด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุ
2.4 ส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬาของนักเรียน เยาวชน ประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
3. ด้านสังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3.1 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องรวม ทั้งการป้องกันและขจัดโรคติดต่อ พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
3.2 สนับสนุนสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้ติดเชื้อ
3.3 จัดตั้งศูนย์บริการประชาชน เพื่อป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยธรรมชาติ
3.4 จัดหน่วยบริการประชาชนเคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อหน่วยงานของรัฐ
3.5 ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของคนในชุมชน
3.6 สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง
4. ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณจัดสรรให้กลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน คือ ข้าว พืชผัก ขิง ฯลฯ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับตลาดและลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ลดสารเคมีตกค้างในผลผลิตโดยใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อให้ได้ราคาสูงและเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ผลิต
4.3 พัฒนาแหล่งน้ำและถนนเพื่อการเกษตรให้ใช้ได้ดีทุกฤดูกาล
4.4 จัดหาแหล่งน้ำสะอาด เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคให้หมู่บ้านที่ขาดแคลน
4.5 จัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์กลางการตลาดเพื่อแสดงสินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆ
ภารกิจ (Mission)
1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่
2. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร ทั้งการผลิต การตลาด และการแปรรูปผลผลิต
3. ส่งเสริมการจัดการสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4. พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ ส่งเสริมการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
6. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
8. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
9. พัฒนาระบบการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่
2. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร ทั้งการผลิต การตลาด และการแปรรูปผลผลิต
3. ส่งเสริมการจัดการสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4. พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ ส่งเสริมการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
6. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
8. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
9. พัฒนาระบบการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม