|
ประวัติความเป็นมา
ประวัติเวียงกาหลง
ตำนานพระจ้าห้าพระองค์มีอยู่ว่า ในสมัยต้นปฐมกัปมีพญากาเผือก ๒ ตัวผัวเมียทำรังอยู่ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคา อันเป็นธรรมชาติสถานที่รื่นรมย์ ในเวลาต่อมาพระโพธิสัตว์ได้ทรงปฏิสนธิในครรภ์แม่พญากาเผือก พร้อมกันถึง ๕ องค์ เมื่อครบทศมาสแม่กาเผือกก็ออกไข่ ณ ที่รังต้นมะเดื่อจำนวน ๕ ฟอง (สถานที่นี้ในกาลต่อมาเรียกขื่อว่า วัดพระเกิด อำเภอวังเหนือ) แม่กาเผือกคอยเผ้าฟักดูแลรักษาไข่ด้วยความทะนุถนอมเป็นอย่างดี ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพญากาเผือก ได้ออกไปหากินถิ่นแดนไกลได้ไปถึงสถานที่หนึ่งอันอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณ ธรรมชาติพืชพรรณธัญญาหาร แม่กาเผือกได้เพลิดหากินอาหาร ชื่นชมธรรมชาติอันรื่นรมย์จนมืดค่ำพอดีฝนตกฟ้าคะนองพายุใหญ่พัดกระหน่ำทำให้ มืดครึ้มทั่วไปหมด ทำให้พญากาเผือกหากหนทางออกไม่ถูกจึงหลงในบริเวณ สถานที่นั่น (สถานที่นั้น ต่อมาจึงได้ชื่อว่า เวียงกาหลง) แม่กาเผือกได้พักอยู่ที่เวียงกาหลงคืนหนึ่ง พอรุ่งอรุณเบิกฟ้า แม่กาเผือกจึงรีบถลาบินกลับสถานที่พัก ณ ที่รังต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำ แต่ปรากฏว่ากิ่งไม้มะเดื่อที่ทำรังอยู่ได้ถูกลมพายุใหญ่พัดหักล้มลง ไปในแม่น้ำ แม่กาเผือกตกใจรีบบินถลาหาลูกทั้ง ๕ ในแม่น้ำแต่อนิจจาหาเท่าไหร่ก็ไม่พบแม่กาเผือกพยายามหา ไข่ลูกของตนไปในทุกสถานที่ตามลำน้ำจนเหนื่อยอ่อนเมื่อยล้า ด้วยความโศกเศร้าเสียใจในความรักลูกอย่างสุดซึ่ง จึงไม่สามารถระงับความอาลัยทุกข์ได้ในที่สุดก็สิ้นใจ ไปอย่างน่าสงสาร (สถานที่แม่กาเผือกสิ้นชีวิตนั้น คือ วัดอักโขชัยคีรี อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง) ด้วยอานิสงส์ที่มีความเมตตารักลูกอันบริสุทธิ์กับทั้งที่ลูกของแม่กาเผือก เป็น โพธิ์สัตว์ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นบุญกุศลหนุนส่งให้แม่กาเผือกตายไปเกิดอยู่แดนพรหมโลกชั้นสุธาวาสมี วิมานทองคำสดใสบริสุทธิ์งดงามตระการตาได้พระนามชื่อว่า “ ฆติกาหมาพรหม” พระฆติกามหาพรหมจักได้เป็นผู้ถวายอัฎฐะบริขารบวชแก่ลูกทั้ง ๕ พระองค์เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนไข่ทั้ง ๕ ได้ถูกลมพัดตกน้ำไหลไปในสถานที่ต่าง ๆ
ไข่ฟองที่ ๑ มีไก่เก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๒ แม่นาคราชเก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๓ แม่เต่าเก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๔ แม่โคเก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปดูแลรักษา
ครั้นในกาลเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ทั้ง ๕ ปรากฏเป็นมนุษย์ รูปร่างสวยสดงดงามทั้ง ๕ พระองค์ ในเวลาเดียวกันตามลำดับของแม่เลี้ยงทั้ง ๕ ที่นำไข่ไปเก็บ ดูแลรักษา พระโพธิสัตว์ทั้ง ได้เจริญเติบโตอยู่กับแม่เลี้ยงด้วยความกตัญญูจึงรู้หน้าที่ทุกอย่างทดแทน บุญคุณแม่เลี้ยงเป็นอย่างดีจนถึงอายุได้ดี ๑๒ ปี ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่งก็มี ออกบวชเนกขัมบารมีเป็นฤาษีอยู่ในป่า จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั่ง ๕ พระองค์ ฝ่ายแม่เลี้ยงถึงจะมีความรักความอาลัยในลูกสักเพียงใด แต่ก็ไม่ขัดความประสงค์เจตนาที่เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ของลูก จึงได้อนุญาตให้ลูกไปบวชเป็น ฤาษีบำเพ็ญบารมีอยู่ในป่าด้วยความอนุโมทนา ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ ที่มุ่งมั่นจะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก ให้พันจากกองทุกข์ภัย ในวัฏฏะสงสารแม่เลี้ยง ทั้ง ๕ เห็นปณิธานอย่างนั้น จึงฝากนามของแม่เลี้ยงไว้กับลูกเพื่อเป็นอนุสรณ์ตำนานไว้แก่โลกต่อไปในภาค หน้า เมื่อลูกได้ตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าโปรดโลกแล้วตามลำดับพระนามดังนี้
องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นไก่
องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นนาค
องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า
องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค
องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นราชสีห์
ในกัลป์นี้ได้ชื่อว่าภัทรกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิด ขึ้นในโลกนี้ถึง ๕ พระองค์มีพระนามตามที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของคำว่า (นะโมพุทธายะ)
นะ คือ พระกกุสันโธ
โม คือ พระโกนาคมโน
พุทธ คือ พระกัสสะโป
ธา คือ พระโคตโม
ยะ คือ พระศรีอริยเมตไตยโย
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ เมือออกบวชเป็นฤาษีได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐานจนสำเร็จญาณอภิญญาสมบัติ จึงสามารถเหาะ ไปหาอาหารผลไม้ด้วยฤทธิ์ทุกพระองค์ อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะไปหาอาหารผลไม้ และบำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ ณ ใต้ต้นนิโครธอันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ด้วยเหตุปัจจัยในกุศลบารมีธรรมฤาษีทั้ง ๕ ได้มาพบกัน ณ ที่นี้โดยไม่ได้นัดหมายรู้จักกันมาก่อน จึงสอบถามความเป็นมาของกันและกันจึงได้รู้ว่าแต่ละองค์มีแต่แม่เลี้ยงเหมือน กัน แม่ที่แท้จริงอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ฤาษีทั้ง ๕ จึงดังก้องไปถึงพรหมโลกเป็นเหตุให้ ท้าวฆติกามหาพรหมซึ่งเป็นแม่กาเผือกตายและได้มาเกิดเป็นพรหมทราบเหตุการณ์ ทั้งหมด จึงจำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกขนสวยงามยิ่งนักมาปรากฏอยู่ข้างหน้าฤาษีทั้ง ๕ ฝ่ายฤาษีทั้ง ๕ ก็รู้ด้วยญาณทัศนะทันทีว่านี่แหละเป็นแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง จึงสอบถามแม่กาเผือกถึงความเป็นมาตั้งแต่ต้นว่า เรื่องเป็นมาอย่างไรแม่กาเผือกจึงเล่าความเป็นมาแต่หนหลังครั้งทำรังอยู่ต้น มะเดื่อฝั่งแม่น้ำคงคา อยู่มาวันหนึ่งได้ออกมาหาอาหารกินถิ่นแดนไกลถึงสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ ธัญญาหารเป็นธรรมชาติอันสวยงามสงบร่มเย็น บังเกิดพายุใหญ่จนมืดค่ำจึงหลงทางอยู่สถานที่นั้นจนกระทั่งอรุณรุ่งวันใหม่ ฝนฟ้าพายุสงบลงจึงรีบบินกลับมาที่พักมาหาลูกที่รังด้วยความเป็นห่วง แต่ปรากฏว่าคืนที่ผ่านมาฝนตกหนักพายุใหญ่ได้พัดกิ่งไม้มะเดื่อหักทำให้รัง ไข่ทั้ง ๕ ฟอง ลูกแม่กาเผือกตกลงไปในน้ำและได้ถูกน้ำพัดไหลไปในที่ต่าง ๆ หาไข่เท่าไหร่ก็ไม่พบจนหมดความสามารถ ในที่สุดด้วยความรักความอาลัยอันบริสุทธิ์ที่มีต่อลูกที่สิ้นใจตาย ได้เกิดเป็นพระพรหม ณ แดนพรหมโลกชั้นสุธาวาสมีวิมารทองคำเป็นที่อยู่ ด้วยอานิสงค์ความรักความเมตตาอันบริสุทธิ์กับทั้งลูกเป็นพระโพธิญาณมี บุญญาธิการมาก จึงได้ส่งผลให้เกิดมาเป็นพรหมและได้จำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกให้ลูกฤาษีทั้ง ๕ ได้ทราบถึงความเป็นมาทั้งหมดเมื่อลูกฤาษีได้ทราบเหตุเช่นนั้นแล้วก็รู้สึก สลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งและสำนึกในบุญสร้างคุณอันใหญ่หลวงของแม่กาเผือก จึงน้อมกราบนมัสการฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่ที่ให้กำเนิดชีวิตลูกได้สร้างบุญ บารมีพระโพธิญาณ จึงกราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือกผู้บังเกิดเกล้าเอาไว้บูชา พระแม่กาเผือกจึงประทานผ้าฝ้ายเป็นด้ายฟั่นเป็นตีนกา สัญลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือกประทานให้ลูกฤาษีทั้ง ๕ ไว้ใช้เป็น ไส้ประทีปจุดบูชาทุกวันพระ และต่อมาเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ในโลกาตลอดกาลนาน เมื่อแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมประทานสัญลักษณ์ไว้ให้ลูกฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง ๕ แล้วก็ลาลูกกลับเทวสถานวิมานของตนบนพรหมโลกตามเดิมฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ต่างก็พากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศึลธรรมภาวนามิได้ขาด ทุกวันพระก็จุดประทีปตีนกาบูชาพระแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่อยู่เสมอ เป็นเวลานานหลายปีชีวิตฤาษีทั้ง ๕ ก็ดับขันธ์ ได้ไปเกิดบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพอันเป็นที่อยู่ขององค์เทพพระโพธิสัตว์ทั้ง หลายได้เสวยทิพยสมบัติ อยู่ในที่นั้นและในกาลต่อมาก็วนเวียนบำเพ็ญบารมีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดใน สังสารวัฎนี้จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง ๓๐ ทัศแล้วก็เสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ไหนจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท้าวฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่ต้นปฐมกับป์ก็จะนำเอาบริขารคือ บาตร ไตร จีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ พระองค์ ในพระชาติสุดท้ายที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกทุก ๆ พระองค์ กาลเวลาอันยาวนานผ่านไป จนถังปัจจุบันนี้ พระโพธิสัตว์ลูกแม่กาเผือกต้นปฐมกัลป์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โปรดโลกไปแล้วถึง ๔ พระองค์ ตามลำดับดังนี้คือ
๑ . พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๔ หมื่นปี มีเขมวตีนคร ของพระเจ้าเพมะเป็นราชธานี
๒. พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๓ หมื่นปี มีโสภวตีนครของพระเจ้าโสภะเป็นราชธานี
๓. พระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๒ หมื่นปี มีพาราณสีนครของพระเจ้ากิงกิเป็นราชธานี
๔. พระโคตโมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๘๐ ปี มีกบิลพัสดุ์นครของพระเจ้าสุทโนะเป็นราชธานี
ส่วนพระโพธิสัตว์องค์ที่ ๕ อันเป็นลูกองค์สุดท้ายของแม่กาเผือกคือ พระศรีอริยเมตไตรย์จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในภัทรกปันี้ จะมีอายุถึง ๘ หมื่นปี ในยุคของพระศรีอริยเมตไตรย์ นั้นสภาพสังคมมนุษย์โลกจะอุดมสมบูรณ์พูนสุขมาก เพราะผู้คนมีศีลธรรมอยู่ด้วยกันได้เมตตาธรรม มีศีล ๕ บริสุทธิ์ทุกคน จึงมีทรัพย์สมบัติมากมีอายุยืนยาวไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมีรูปร่างสวยสดงดงาม หน้าตาผ่องใสเบิกบานด้วยกันหมด เพราะผู้คนในยุคนั้นได้สร้างบุญบารมี ให้ทานรักษาศีลภาวนากันมาสมบูรณ์ดีหมดเพราะพระบารมีของพระพุทธเจ้าศรีอริยเม ตไตรย์ ที่สั่งสมบารมี เพื่อความสันติสุขของโลกซึ่งมีพระเจ้าสังขจักรพรรดิทรงปกครองบ้านเมืองโดย ชอบธรรมในเมืองเกตุวดีนครและแผ่ธรรมจักรพรรดิให้คนรักษาศีล ๕ ทั้งโลก เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ประวัติความเป็นมาของตำบลเวียงกาหลง
ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายแต่เดิมชื่อตำบลหัวฝาย ต่อมาชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นได้ร้องขอต่อทางราชการให้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบล เวียงกาหลง เนื่องจากที่ตั้งของตำบลมีพื้นที่ของเมืองโบราณเวียงกาหลงรวมอยู่ด้วย และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงชื่อ จังหวัด อำเภอ และตำบล หมู่บ้านหรือสถานที่ราชการอื่น ครั้งที่ 2/2533 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 สำหรับประวัติของเมืองโบราณเวียงกาหลง อันเป็นที่มาของชื่อตำบลนั้น ตามการสันนิษฐานของนักโบราณคดีและผู้รู้ได้กล่าวว่า เมืองโบราณเวียงกาหลง สร้างขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500 - 1600 อยู่ในอาณาจักรแว่นแคว้นยวนเชียง (ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองเชียงลาวหรือเชียงรายในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นช่วงที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรพุกาม ได้ยกทัพไปยังกัมพูชา เพื่อทวงถามขอพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฎก พระแก้วมรกต คืนจากเมืองกัมพูชา และได้หยุดพักทัพที่บริเวณเมืองโบราณเวียงกาหลงในปัจจุบัน คืนหนึ่งพระเจ้าอโนรธามังช่อ ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงลอยขึ้นจากยอดดอยซึ่งโหรทำนายว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี จึงทรงให้ทหารไปสำรวจพื้นที่ แล้วให้ก่อสร้างพระธาตุขึ้น (ปัจจุบันคือ พระธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย) ในการสร้างพระธาตุต้องอาศัยเวลาอันยาวนาน ดังนั้นพระเจ้าอโนรธามังช่อ จึงให้สร้างเมืองขึ้นในบริเวณที่หยุดพักทัพ และให้ดูขุดคูล้อมรอบตัวเมือง สร้างป้อมปราการ เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูและสัตว์ร้ายต่างๆ พระองค์ได้ให้ไพร่พลขุดดินขึ้นมาปั้นแล้วเผาเป็นก้อนอิฐ เพื่อใช้ก่อเป็นพระธาตุแม่เจดีย์ ไพร่พลของพระเจ้าอโนรธามังช่อ นอกจากจะทำอิฐแล้ว ยังมีฝีมือในการปั้นถ้วย ชาม หม้อ แจกัน ฯลฯ ซึ่งพม่าในสมัยนั้นได้ติดต่อค้าขายกับจีน จากการสันนิษฐานของนักโบราณคดีเห็นว่าเครื่องปั้นเวียงกาหลงมีลักษณะการ เขียนลายที่เหมือนกับ เครื่องถ้วยชิงไป๋ของจีน
จากการขุดค้นบริเวณเมืองโบราณ พบเตาเผา เครื่องเคลือบ 200 กว่าเตา แสดงให้เห็นว่า ในอดีตเมืองนี้ต้องเป็นชุมชนใหญ่ และตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองต่างๆ ของอาณาจักรล้านนา มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเชื่อว่าสภาพภูมิประเทศบริเวณนี้คงเป็นบริเวณที่อุดม สมบูรณ์ไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ของคนในเมืองเวียง กาหลง ผู้คนอยู่ดีกินดีความสุขถ้วนหน้า อารยธรรมเจริญรุ่งเรือง ต่อมาอีกกี่ร้อยปีไม่ปรากฏเวียงกาหลงได้ถึงกาลล่มสลายลงจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดหรือสาเหตุอื่นใดไม่แน่ชัด ปัจจุบันเมืองโบราณเวียงกาหลงคงเหลือแต่ซาก คูเมือง เตาเผา ภาชนะเครื่องเคลือบที่ขุดค้นพบ ส่วนผู้คนที่อาศัยอยู่ในตำบลเวียงกาหลงขณะนี้นั้นได้ อพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา
ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลง
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย แต่เดิมชื่อตำบลหัวฝาย ต่อมาชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นได้ร้องขอต่อทางราชการให้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น ตำบลเวียงกาหลง เนื่องจากที่ตั้งของตำบลมีพื้นที่ของเมืองโบราณเวียงกาหลงรวมอยู่ด้วย และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงชื่อ จังหวัดอำเภอ และตำบลหมู่บ้านหรือสถานที่ราชการอื่น ครั้งที่ 2/2533 เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2533 และสภาตำบลเวียงกาหลงได้ยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2540
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลงมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ไปแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ 11 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2540
ครั้งที่ 2 วันที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2544
ครั้งที่ 3 วันที่ 31 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2548
มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน คนแรก คือ นายสมอาจ เชื้อเขียว เลือกตั้งเมื่อ 31 ก.ค. 2548
ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายแต่เดิมชื่อตำบลหัวฝาย ต่อมาชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นได้ร้องขอต่อทางราชการให้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบล เวียงกาหลง เนื่องจากที่ตั้งของตำบลมีพื้นที่ของเมืองโบราณเวียงกาหลงรวมอยู่ด้วย และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงชื่อ จังหวัด อำเภอ และตำบล หมู่บ้านหรือสถานที่ราชการอื่น ครั้งที่ 2/2533 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 สำหรับประวัติของเมืองโบราณเวียงกาหลง อันเป็นที่มาของชื่อตำบลนั้น ตามการสันนิษฐานของนักโบราณคดีและผู้รู้ได้กล่าวว่า เมืองโบราณเวียงกาหลง สร้างขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500 - 1600 อยู่ในอาณาจักรแว่นแคว้นยวนเชียง (ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองเชียงลาวหรือเชียงรายในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นช่วงที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรพุกาม ได้ยกทัพไปยังกัมพูชา เพื่อทวงถามขอพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฎก พระแก้วมรกต คืนจากเมืองกัมพูชา และได้หยุดพักทัพที่บริเวณเมืองโบราณเวียงกาหลงในปัจจุบัน คืนหนึ่งพระเจ้าอโนรธามังช่อ ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงลอยขึ้นจากยอดดอยซึ่งโหรทำนายว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี จึงทรงให้ทหารไปสำรวจพื้นที่ แล้วให้ก่อสร้างพระธาตุขึ้น (ปัจจุบันคือ พระธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย) ในการสร้างพระธาตุต้องอาศัยเวลาอันยาวนาน ดังนั้นพระเจ้าอโนรธามังช่อ จึงให้สร้างเมืองขึ้นในบริเวณที่หยุดพักทัพ และให้ดูขุดคูล้อมรอบตัวเมือง สร้างป้อมปราการ เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูและสัตว์ร้ายต่างๆ พระองค์ได้ให้ไพร่พลขุดดินขึ้นมาปั้นแล้วเผาเป็นก้อนอิฐ เพื่อใช้ก่อเป็นพระธาตุแม่เจดีย์ ไพร่พลของพระเจ้าอโนรธามังช่อ นอกจากจะทำอิฐแล้ว ยังมีฝีมือในการปั้นถ้วย ชาม หม้อ แจกัน ฯลฯ ซึ่งพม่าในสมัยนั้นได้ติดต่อค้าขายกับจีน จากการสันนิษฐานของนักโบราณคดีเห็นว่าเครื่องปั้นเวียงกาหลงมีลักษณะการ เขียนลายที่เหมือนกับ เครื่องถ้วยชิงไป๋ของจีน
จากการขุดค้นบริเวณเมืองโบราณ พบเตาเผา เครื่องเคลือบ 200 กว่าเตา แสดงให้เห็นว่า ในอดีตเมืองนี้ต้องเป็นชุมชนใหญ่ และตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองต่างๆ ของอาณาจักรล้านนา มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเชื่อว่าสภาพภูมิประเทศบริเวณนี้คงเป็นบริเวณที่อุดม สมบูรณ์ไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ของคนในเมืองเวียง กาหลง ผู้คนอยู่ดีกินดีความสุขถ้วนหน้า อารยธรรมเจริญรุ่งเรือง ต่อมาอีกกี่ร้อยปีไม่ปรากฏเวียงกาหลงได้ถึงกาลล่มสลายลงจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดหรือสาเหตุอื่นใดไม่แน่ชัด ปัจจุบันเมืองโบราณเวียงกาหลงคงเหลือแต่ซาก คูเมือง เตาเผา ภาชนะเครื่องเคลือบที่ขุดค้นพบ ส่วนผู้คนที่อาศัยอยู่ในตำบลเวียงกาหลงขณะนี้นั้นได้ อพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา
ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลง
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย แต่เดิมชื่อตำบลหัวฝาย ต่อมาชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นได้ร้องขอต่อทางราชการให้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น ตำบลเวียงกาหลง เนื่องจากที่ตั้งของตำบลมีพื้นที่ของเมืองโบราณเวียงกาหลงรวมอยู่ด้วย และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงชื่อ จังหวัดอำเภอ และตำบลหมู่บ้านหรือสถานที่ราชการอื่น ครั้งที่ 2/2533 เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2533 และสภาตำบลเวียงกาหลงได้ยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2540
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกาหลงมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ไปแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ 11 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2540
ครั้งที่ 2 วันที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2544
ครั้งที่ 3 วันที่ 31 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2548
มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน คนแรก คือ นายสมอาจ เชื้อเขียว เลือกตั้งเมื่อ 31 ก.ค. 2548
ประวัติเวียงกาหลง
ตำนานพระจ้าห้าพระองค์มีอยู่ว่า ในสมัยต้นปฐมกัปมีพญากาเผือก ๒ ตัวผัวเมียทำรังอยู่ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคา อันเป็นธรรมชาติสถานที่รื่นรมย์ ในเวลาต่อมาพระโพธิสัตว์ได้ทรงปฏิสนธิในครรภ์แม่พญากาเผือก พร้อมกันถึง ๕ องค์ เมื่อครบทศมาสแม่กาเผือกก็ออกไข่ ณ ที่รังต้นมะเดื่อจำนวน ๕ ฟอง (สถานที่นี้ในกาลต่อมาเรียกขื่อว่า วัดพระเกิด อำเภอวังเหนือ) แม่กาเผือกคอยเผ้าฟักดูแลรักษาไข่ด้วยความทะนุถนอมเป็นอย่างดี ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพญากาเผือก ได้ออกไปหากินถิ่นแดนไกลได้ไปถึงสถานที่หนึ่งอันอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณ ธรรมชาติพืชพรรณธัญญาหาร แม่กาเผือกได้เพลิดหากินอาหาร ชื่นชมธรรมชาติอันรื่นรมย์จนมืดค่ำพอดีฝนตกฟ้าคะนองพายุใหญ่พัดกระหน่ำทำให้ มืดครึ้มทั่วไปหมด ทำให้พญากาเผือกหากหนทางออกไม่ถูกจึงหลงในบริเวณ สถานที่นั่น (สถานที่นั้น ต่อมาจึงได้ชื่อว่า เวียงกาหลง) แม่กาเผือกได้พักอยู่ที่เวียงกาหลงคืนหนึ่ง พอรุ่งอรุณเบิกฟ้า แม่กาเผือกจึงรีบถลาบินกลับสถานที่พัก ณ ที่รังต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำ แต่ปรากฏว่ากิ่งไม้มะเดื่อที่ทำรังอยู่ได้ถูกลมพายุใหญ่พัดหักล้มลง ไปในแม่น้ำ แม่กาเผือกตกใจรีบบินถลาหาลูกทั้ง ๕ ในแม่น้ำแต่อนิจจาหาเท่าไหร่ก็ไม่พบแม่กาเผือกพยายามหา ไข่ลูกของตนไปในทุกสถานที่ตามลำน้ำจนเหนื่อยอ่อนเมื่อยล้า ด้วยความโศกเศร้าเสียใจในความรักลูกอย่างสุดซึ่ง จึงไม่สามารถระงับความอาลัยทุกข์ได้ในที่สุดก็สิ้นใจ ไปอย่างน่าสงสาร (สถานที่แม่กาเผือกสิ้นชีวิตนั้น คือ วัดอักโขชัยคีรี อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง) ด้วยอานิสงส์ที่มีความเมตตารักลูกอันบริสุทธิ์กับทั้งที่ลูกของแม่กาเผือก เป็น โพธิ์สัตว์ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นบุญกุศลหนุนส่งให้แม่กาเผือกตายไปเกิดอยู่แดนพรหมโลกชั้นสุธาวาสมี วิมานทองคำสดใสบริสุทธิ์งดงามตระการตาได้พระนามชื่อว่า “ ฆติกาหมาพรหม” พระฆติกามหาพรหมจักได้เป็นผู้ถวายอัฎฐะบริขารบวชแก่ลูกทั้ง ๕ พระองค์เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนไข่ทั้ง ๕ ได้ถูกลมพัดตกน้ำไหลไปในสถานที่ต่าง ๆ
ไข่ฟองที่ ๑ มีไก่เก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๒ แม่นาคราชเก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๓ แม่เต่าเก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๔ แม่โคเก็บไปดูแลรักษา
ไข่ฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปดูแลรักษา
ครั้นในกาลเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ทั้ง ๕ ปรากฏเป็นมนุษย์ รูปร่างสวยสดงดงามทั้ง ๕ พระองค์ ในเวลาเดียวกันตามลำดับของแม่เลี้ยงทั้ง ๕ ที่นำไข่ไปเก็บ ดูแลรักษา พระโพธิสัตว์ทั้ง ได้เจริญเติบโตอยู่กับแม่เลี้ยงด้วยความกตัญญูจึงรู้หน้าที่ทุกอย่างทดแทน บุญคุณแม่เลี้ยงเป็นอย่างดีจนถึงอายุได้ดี ๑๒ ปี ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่งก็มี ออกบวชเนกขัมบารมีเป็นฤาษีอยู่ในป่า จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั่ง ๕ พระองค์ ฝ่ายแม่เลี้ยงถึงจะมีความรักความอาลัยในลูกสักเพียงใด แต่ก็ไม่ขัดความประสงค์เจตนาที่เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ของลูก จึงได้อนุญาตให้ลูกไปบวชเป็น ฤาษีบำเพ็ญบารมีอยู่ในป่าด้วยความอนุโมทนา ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ ที่มุ่งมั่นจะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก ให้พันจากกองทุกข์ภัย ในวัฏฏะสงสารแม่เลี้ยง ทั้ง ๕ เห็นปณิธานอย่างนั้น จึงฝากนามของแม่เลี้ยงไว้กับลูกเพื่อเป็นอนุสรณ์ตำนานไว้แก่โลกต่อไปในภาค หน้า เมื่อลูกได้ตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าโปรดโลกแล้วตามลำดับพระนามดังนี้
องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นไก่
องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นนาค
องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า
องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค
องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นราชสีห์
ในกัลป์นี้ได้ชื่อว่าภัทรกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิด ขึ้นในโลกนี้ถึง ๕ พระองค์มีพระนามตามที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของคำว่า (นะโมพุทธายะ)
นะ คือ พระกกุสันโธ
โม คือ พระโกนาคมโน
พุทธ คือ พระกัสสะโป
ธา คือ พระโคตโม
ยะ คือ พระศรีอริยเมตไตยโย
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ เมือออกบวชเป็นฤาษีได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐานจนสำเร็จญาณอภิญญาสมบัติ จึงสามารถเหาะ ไปหาอาหารผลไม้ด้วยฤทธิ์ทุกพระองค์ อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะไปหาอาหารผลไม้ และบำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ ณ ใต้ต้นนิโครธอันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ด้วยเหตุปัจจัยในกุศลบารมีธรรมฤาษีทั้ง ๕ ได้มาพบกัน ณ ที่นี้โดยไม่ได้นัดหมายรู้จักกันมาก่อน จึงสอบถามความเป็นมาของกันและกันจึงได้รู้ว่าแต่ละองค์มีแต่แม่เลี้ยงเหมือน กัน แม่ที่แท้จริงอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ฤาษีทั้ง ๕ จึงดังก้องไปถึงพรหมโลกเป็นเหตุให้ ท้าวฆติกามหาพรหมซึ่งเป็นแม่กาเผือกตายและได้มาเกิดเป็นพรหมทราบเหตุการณ์ ทั้งหมด จึงจำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกขนสวยงามยิ่งนักมาปรากฏอยู่ข้างหน้าฤาษีทั้ง ๕ ฝ่ายฤาษีทั้ง ๕ ก็รู้ด้วยญาณทัศนะทันทีว่านี่แหละเป็นแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง จึงสอบถามแม่กาเผือกถึงความเป็นมาตั้งแต่ต้นว่า เรื่องเป็นมาอย่างไรแม่กาเผือกจึงเล่าความเป็นมาแต่หนหลังครั้งทำรังอยู่ต้น มะเดื่อฝั่งแม่น้ำคงคา อยู่มาวันหนึ่งได้ออกมาหาอาหารกินถิ่นแดนไกลถึงสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ ธัญญาหารเป็นธรรมชาติอันสวยงามสงบร่มเย็น บังเกิดพายุใหญ่จนมืดค่ำจึงหลงทางอยู่สถานที่นั้นจนกระทั่งอรุณรุ่งวันใหม่ ฝนฟ้าพายุสงบลงจึงรีบบินกลับมาที่พักมาหาลูกที่รังด้วยความเป็นห่วง แต่ปรากฏว่าคืนที่ผ่านมาฝนตกหนักพายุใหญ่ได้พัดกิ่งไม้มะเดื่อหักทำให้รัง ไข่ทั้ง ๕ ฟอง ลูกแม่กาเผือกตกลงไปในน้ำและได้ถูกน้ำพัดไหลไปในที่ต่าง ๆ หาไข่เท่าไหร่ก็ไม่พบจนหมดความสามารถ ในที่สุดด้วยความรักความอาลัยอันบริสุทธิ์ที่มีต่อลูกที่สิ้นใจตาย ได้เกิดเป็นพระพรหม ณ แดนพรหมโลกชั้นสุธาวาสมีวิมารทองคำเป็นที่อยู่ ด้วยอานิสงค์ความรักความเมตตาอันบริสุทธิ์กับทั้งลูกเป็นพระโพธิญาณมี บุญญาธิการมาก จึงได้ส่งผลให้เกิดมาเป็นพรหมและได้จำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกให้ลูกฤาษีทั้ง ๕ ได้ทราบถึงความเป็นมาทั้งหมดเมื่อลูกฤาษีได้ทราบเหตุเช่นนั้นแล้วก็รู้สึก สลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งและสำนึกในบุญสร้างคุณอันใหญ่หลวงของแม่กาเผือก จึงน้อมกราบนมัสการฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่ที่ให้กำเนิดชีวิตลูกได้สร้างบุญ บารมีพระโพธิญาณ จึงกราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือกผู้บังเกิดเกล้าเอาไว้บูชา พระแม่กาเผือกจึงประทานผ้าฝ้ายเป็นด้ายฟั่นเป็นตีนกา สัญลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือกประทานให้ลูกฤาษีทั้ง ๕ ไว้ใช้เป็น ไส้ประทีปจุดบูชาทุกวันพระ และต่อมาเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ในโลกาตลอดกาลนาน เมื่อแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมประทานสัญลักษณ์ไว้ให้ลูกฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง ๕ แล้วก็ลาลูกกลับเทวสถานวิมานของตนบนพรหมโลกตามเดิมฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ต่างก็พากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศึลธรรมภาวนามิได้ขาด ทุกวันพระก็จุดประทีปตีนกาบูชาพระแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่อยู่เสมอ เป็นเวลานานหลายปีชีวิตฤาษีทั้ง ๕ ก็ดับขันธ์ ได้ไปเกิดบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพอันเป็นที่อยู่ขององค์เทพพระโพธิสัตว์ทั้ง หลายได้เสวยทิพยสมบัติ อยู่ในที่นั้นและในกาลต่อมาก็วนเวียนบำเพ็ญบารมีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดใน สังสารวัฎนี้จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง ๓๐ ทัศแล้วก็เสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ไหนจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท้าวฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่ต้นปฐมกับป์ก็จะนำเอาบริขารคือ บาตร ไตร จีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ พระองค์ ในพระชาติสุดท้ายที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกทุก ๆ พระองค์ กาลเวลาอันยาวนานผ่านไป จนถังปัจจุบันนี้ พระโพธิสัตว์ลูกแม่กาเผือกต้นปฐมกัลป์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โปรดโลกไปแล้วถึง ๔ พระองค์ ตามลำดับดังนี้คือ
๑ . พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๔ หมื่นปี มีเขมวตีนคร ของพระเจ้าเพมะเป็นราชธานี
๒. พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๓ หมื่นปี มีโสภวตีนครของพระเจ้าโสภะเป็นราชธานี
๓. พระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๒ หมื่นปี มีพาราณสีนครของพระเจ้ากิงกิเป็นราชธานี
๔. พระโคตโมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๘๐ ปี มีกบิลพัสดุ์นครของพระเจ้าสุทโนะเป็นราชธานี
ส่วนพระโพธิสัตว์องค์ที่ ๕ อันเป็นลูกองค์สุดท้ายของแม่กาเผือกคือ พระศรีอริยเมตไตรย์จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในภัทรกปันี้ จะมีอายุถึง ๘ หมื่นปี ในยุคของพระศรีอริยเมตไตรย์ นั้นสภาพสังคมมนุษย์โลกจะอุดมสมบูรณ์พูนสุขมาก เพราะผู้คนมีศีลธรรมอยู่ด้วยกันได้เมตตาธรรม มีศีล ๕ บริสุทธิ์ทุกคน จึงมีทรัพย์สมบัติมากมีอายุยืนยาวไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมีรูปร่างสวยสดงดงาม หน้าตาผ่องใสเบิกบานด้วยกันหมด เพราะผู้คนในยุคนั้นได้สร้างบุญบารมี ให้ทานรักษาศีลภาวนากันมาสมบูรณ์ดีหมดเพราะพระบารมีของพระพุทธเจ้าศรีอริยเม ตไตรย์ ที่สั่งสมบารมี เพื่อความสันติสุขของโลกซึ่งมีพระเจ้าสังขจักรพรรดิทรงปกครองบ้านเมืองโดย ชอบธรรมในเมืองเกตุวดีนครและแผ่ธรรมจักรพรรดิให้คนรักษาศีล ๕ ทั้งโลก เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า